วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.ของอาสาสมัครผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ.

เทคนิคการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.
ประวัติ ชื่อ นางประไพ    ศรีประเสริฐ
อายุ 53 ปี วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี (คหกรรมศาสตร์ วทบ.) อาชีพเดิม เป็นครูโรงเรียนเอกชนครบ 20 ปี ลาออกมาทำงานให้กับชุมชนโดยการเริ่มเข้ามาเป็นผู้นำ อช. ตำบลบางกอบัว แล้วมาเป็นประธานอช. อ.พระประแดง และก้าวต่อมาก็มายังจังหวัดตั้งแต่ปี 2547
ตำแหน่งด้านอาสาพัฒนาชุมชนที่รับหน้าที่อยู่ มีดังนี้
1. ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ตำบลบางกอบัว
2. ประธานอาสาพัฒนาชุมชน อำเภอพระประแดง
3. เลขานุการสมาคมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัด
4. อุปนายกสมาคมอาสาพัฒนาชุมชน
5. คณะกรรมการสมาคมฯ ภาค
          สำหรับการทำงานด้านการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ในหมู่บ้านปี 2553 และการจัดเก็บต่อมา ในปัจจุบันได้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการดำเนินงานจัดเก็บ จปฐ. เช่น การสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดเก็บ การรับรองข้อมูล เป็นต้น
วิธีปฏิบัติ
          1. เริ่มต้นคือการศึกษาข้อมูลของ จปฐ.ทั้งหมดในเล่มให้เข้าใจ แล้วนำมาวิเคราะห์จัดแบ่งหมวดหมู่
          2. นำทีมจัดเก็บมาสรุปวิธีการจัดเก็บแบ่งโซนจัดเก็บ ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลทุกวันหยุดราชการ เนื่องจากการจัดเก็บในวันธรรมดาจะเจอแต่ผู้สูงอายุเฝ้าบ้าน บางครั้งจะไม่ทราบข้อมูล จึงเตรียมพร้อมจัดเก็บในวันหยุดราชการ
          3. วันที่เราออกจัดเก็บตามครัวเรือน เมื่อเราเข้าพบเจ้าของครัวเรือนจะแจ้งวัตถุประสงค์และอธิบายรายละเอียดที่เรามาจัดเก็บข้อมูล จปฐ. เพื่ออะไร เอาไปทำอะไร เพื่อต้องการให้ครัวเรือนตอบข้อมูลตามความเป็นจริง โดยการสอบถามที่ละข้อ ๆ จนจบทุกข้อ
          4. ถ้าผู้ตอบแบบสอบถามไม่เข้าใจข้อใดก็จะยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เกิดความเข้าใจ
          5. บางครัวเรือน ผู้ให้ข้อมูลไม่ทราบและตอบไม่ได้ ก็นัดวันที่จะมาจัดเก็บวันต่อไป
          6. ตรวจเช็คจำนวนแบบสอบถามให้ครบตามจำนวนครัวเรือนในหมู่บ้านและตรวจเช็คความถูกต้องในแต่ละเล่มให้ครบถ้วน เพื่อที่จะได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ อบต. บันทึกข้อมูลต่อไป
ปัญหา/อุปสรรคในการจัดเก็บข้อมูล
          ประชาชนในหมู่บ้านไม่ทราบว่า จปฐ. คืออะไร เวลาที่เราไปขอข้อมูลครัวเรือนไม่ให้การต้อนรับ เราจึงต้องอธิบายวัตถุประสงค์ความเป็นมาของ จปฐ. ให้ครัวเรือนเข้าใจ
แนวทางในการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.
          1. ประชุมวางแผนการจัดเก็บข้อมูล กำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บ จะต้องจัดเก็บให้เสร็จตามกำหนดเวลา (ภายใน 1 เดือน)
          2. นำแบบสอบถามแต่ละเล่มมาตรวจเช็คข้อมูลให้ครบถ้วน ถ้าเล่มใดขาดตกบกพร่องจะส่งกลับให้ทีมงานจัดเก็บ ไปเก็บข้อมูลอีกครั้ง
          3. อาศัยศักยภาพ เป็นทุนอยู่ คือกำนัน ตัวเราเป็นครูมาก่อน จึงมีความสำเร็จ
การนำข้อมูล จปฐ. ไปใช้ประโยชน์
          สรุปปัญหาของครัวเรือนในหมู่บ้านมาวิเคราะห์ว่าในหมู่บ้านมีปัญหาอะไรบ้าง บางปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ เช่น การออมทรัพย์ ถ้าครัวเรือนไม่มีการออมเราจะรณรงค์ให้ออมในกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของตำบล หรือกับกอบทุนหมู่บ้าน ส่วนปัญหาที่ไม่สามารถจะแก้ไขได้ ก็นำเสนอผู้ใหญ่บ้าน เพื่อนำเข้าแผนชุมชนของหมู่บ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น